วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

windows Server 2008



Windows Server 2008 R2 ได้รับการพัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของ Windows Server 2008 ที่ ได้รับรางวัล ขยายเทคโนโลยีที่มีอยู่และเพิ่มคุณลักษณะใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน คุ้มครองข้อมูล และลดต้นทุนและความเสี่ยงของไอที
  • จัด ระบบให้ธุรกิจของคุณมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น งานบำรุงรักษาที่ทำโดยอัตโนมัติและคาดการณ์ได้จะช่วยเพิ่มพูนระดับ ประสิทธิภาพ ป้องกันการชะงักงันของการทำงานและการสูญเสียข้อมูลอันประเมินค่ามิได้
  • เชื่อม ต่อและทันต่อข้อมูลอยู่ตลอดเวลาแม้ในเวลาที่ไม่อยู่ในที่ทำงาน ด้วยการเข้าถึงอย่างปลอดภัยกับรายชื่อผู้ติดต่อทางธุรกิจ ปฏิทิน อีเมล แฟ้มข้อมูลและทรัพยากรเดสก์ท็อปที่สำคัญ จากคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้จากทุกสถานที่ตลอดเวลา
  • ปรับ ปรุงลักษณะการทำงานด้วยกันของทีมงานด้วยความสามารถในการทำงานร่วมกัน ซึ่งรวมถึงขั้นตอนการทำงานในตัว การเข้าถึงอย่างง่ายดายทั้งในแบบออนไลน์และออฟไลน์ และการควบคุมเวอร์ชันในตัว
  • ป้องกัน ข้อมูลสูญหายด้วยการสำรองข้อมูล ตามกำหนดเวลา เพื่อให้เอกสารที่สำคัญและข้อมูลที่ละเอียดอ่อนได้รับการปกป้องจากการคุกคาม จากภายนอก และสามารถกู้คืนได้ในกรณีที่ระบบล้มเหลว
คุณลักษณะของ Windows Server 2008 R2
  • รวบรวมเซิร์ฟเวอร์เข้าด้วยกัน (Server Consolidation)
  • ลดอัตราการใช้พลังงาน
  • เพิ่มระดับความพร้อมในการใช้งาน
  • ปรับปรุงการจัดการ
  • ปกป้องจากภัยพิบัติหรือโจรกรรม
  • เพิ่มระดับผลผลิต
  • พัฒนาประสิทธิภาพ
  • พัฒนาการเข้าถึงระยะไกล
  • การสำรองข้อมูลตามกำหนดเวลา
  • ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • กำจัดต้นทุนด้าน VPN
  • ทำงานไอทีให้ง่ายขึ้น
วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 จะมีทั้งที่เป็นรุ่นสำหรับ 32 บิต (x86) และ 64 บิต (x64) เช่นเดียวกับวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 และยังแบ่งเป็นรุ่นสำหรับการใช้งาน ดังนี้

  • Web Edition

  • Standard Edition

  • Enterprise Edition

  • Datacenter Edition
ความต้องการขั้นต่ำของ window sserver 2008
หน่วยประมวลผล
ขั้นต่ำ: 1 GHz (x86 processor) หรือ 1.4 GHz (x64 Processor) ความต้องการที่แนะนำ: 2 GHz หรือเร็วกว่า
หมาย เหตุ: คุณจำเป็นต้องใช้หน่วยประมวลผล Intel Itanium 2 processor เพื่อใช้งานระบบ Windows Server 2008 สำหรับระบบปฏิบัติการที่เป็นระบบ Itanium-Based Systems
หน่วยความจำ
ขั้น ต่ำ: 512 MB RAM ความต้องการที่แนะนำ: 2 GB RAM หรือสูงกว่า ความต้องการระดับปานกลาง: 2 GB RAM (สำหรับการติดตั้งแบบเต็ม) หรือ 1 GB RAM (สำหรับการติดตั้งโปรแกรมหลักของเซิร์ฟเวอร์) หรือมากกว่านั้น
ความต้องการระดับสูง (สำหรับระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิท): 4 GB (มาตรฐาน) หรือ 64 GB (สำหรับระบบ Enterprise และ Datacenter)
ความ ต้องการระดับสูง (สำหรับระบบปฏิบัติการแบบ 64 บิท): 32 GB (มาตรฐาน) หรือ 2 TB (สำหรับระบบ Enterprise, ระบบ Datacenter และ ระบบปฏิบัติการที่เป็นระบบ Itanium-Based Systems)
เนื้อที่ฮาร์ดดิสก์
ขั้นต่ำ: 10 GB ความต้องการที่แนะนำ: 40 GB หรือมากกว่า
หมาย เหตุ: เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำ RAM มากกว่า 16 GB จะต้องใช้เนื้อที่ฮาร์ดดิสก์เพิ่มขึ้นสำหรับ การจัดการเพจ(paging) การไฮเบอร์เนต และการสร้างแฟ้มการถ่ายโอนข้อมูล (dump files)
จอแสดงผล
จอแสดงผลแบบ Super VGA (ความละเอียด 800 × 600) หรือจอแสดงผลที่มีความละเอียดมากกว่านั้น
อุปกรณ์อื่นๆ
คีย์บอร์ด เมาส์ หรืออุปกรณ์ชี้ตำแหน่งที่เข้ากันได้กับระบบ

Ubuntu

Ubuntu



Ubuntu คืออะไร แนวคิดพื้นฐานของ Ubuntu คือผู้ใช้ไม่มีสิทธิ์รันเป็น root โดยตรง ต้องใช้คำสั่ง sudo ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้สิทธิ์ของ root ดังนั้นในกรณีที่มันขึ้นมาให้กรอกพาสเวิร์ด นั่นหมายความว่า ให้กรอกพาสเวิร์ดของตัวเองที่ตั้งไว้ซ้ำอีกรอบ เพื่อจำลองตัวเป็น root ชั่วขณะ
Ubuntu ต่างจากลีนุกซ์ อย่างไร ไม่ต่างกัน Ubuntu นั่นก็คือ Linux ตัวหนึ่ง Ubuntu มีโปรแกรมสำเร็จรูปในตนเอง ถือเป็นระบบปฎิบัติการ ที่ทำหน้าที่คล้ายกับ Windows หรือ Mac
Ubuntu เหมือนหรือแตกต่างจาก Redhat อย่างไร ไม่ต่างกัน Red Hat เป็นดิสทริบิวชั่นที่ได้รับความนิยมสูง ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันได้ออกเวอร์ชันล่าสุด คือ Red Hat 7.2
มีเหตุผลมากมายที่ทำให้ Red Hat ได้รับความนิยมมากเช่นนี้ ทั้งนี้เนื่องมาจากมีผู้ใช้ลีนุกซ์เป็นจำนวนมากที่ใช้งาน Red Hat อยู่ ทำให้มีผู้ที่รู้เกี่ยวกับ Red Hat มากกว่าลีนุกซ์ค่ายอื่น ๆ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็สามารถขอคำปรึกษาจากผู้รู้ได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีหนังสือ ตำรา เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาอ้างอิงเป็นจำนวนมากกว่าลีนุกซ์ค่ายอื่น ช่วยให้ผู้ที่เริ่มต้นใหม่สามารถค้นคว้าหาข้อมูลได้ด้วยตนเอง
Ubuntu กับลีนุกซ์ทะเล มีข้อดีข้อเสียอย่างไร มันก็เหมือนๆ กันแหละ โครงสร้าง คำสั่ง โปรแกรม เพราะ Ubuntu ก็พัฒนาจาก Debian Base โปรแกรมจึงสามารถรองรับกันได้ เพียงแต่ Debian ยุ่งยากกว่า ก็เลยไม่แนะนำ ศึกษาอันใหนก็ไม่ต่างกัน ลีนุกซ์ทะเลจะแก้ใขปัญหาภาษาไทยมาให้แล้ว ซึ่งต่างจาก Ubuntu เค้าจะเอาภาษาไทยจากลีนุกซ์ทะเลไปพัฒนาในรุ่นต่อๆ ไป
Ubuntu เหมาะจะนำมาเผยแพร่ให้กับนิสิตที่จะนำไปใช้หรือไม่ เหมาะ สม คุณครูและนักเรียน ควร ได้มีโอกาสทำความรู้จัก Ubuntu เพื่อพิจารณาเป็นอีกตัวเลือกหนึ่ง ในการนำมาใช้ในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย


ความต้องการของระบบ
Ubuntu 8.04 รองรับการทำงาน บน CPU Intel x86 และ AMD64
CPU ขั้นต่ำ 300 MHz RAM 128 MB
พื้นที่ฮาร์ดดิสก์ 500 MB สำหรับติดตั้งระบบพื้นฐาน 1 GB สำหรับติดตั้งระบบทั้งหมด

ดาวน์โหลด Ubuntu 8.04 Server
สามารถดาวน์โหลด Ubuntu Server ได้ที่ http://www.ubuntu.com/getubuntu/download ไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาชื่อไฟล์ ubuntu-8.04.1-server-amd64.iso หรือ ubuntu-8.04.1-server-i386.iso นำไฟล์เหล่านี้มาเขียนลง CD ด้วยโปรแกรมเขียน CD เช่น Nero ด้วยเมนู Burn CD Image เมื่อได้แผ่นมาแล้วก็สามารถนำมาติดตั้งได้เลย

windows Server2003

windows Sever2003

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย Windows Server 2003



ระบบปฏิบัติการ Windows Server 2003 เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับการให้บริการ (Services) ต่างๆ กับผู้ใช้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Internet) หรืออินทราเน็ต (Intranet) เช่น บริการ ไฟล์แชร์ (File Server) บริการเว็บไซต์ (Web Server) บริการควบคุมเครื่องพิมพ์ (Print Server) บริการฐานข้อมูลไดเร็กทรอรี่ (Directory Server) นอกจากนี้ยังมีบริการอีกมากมายที่ไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ และสามารถตรวจสอบได้จาก http://www.microsoft.com ซึ่งระบบปฏิบัติการ Windows Server 2003 ต้องมีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะรองรับงานเชิง ธุรกิจและรับแอปพลิเคชั่น (Application) ใหญ่ๆ ได้
แนวคิดหลักของระบบปฏิบัติการดังนี้
  • Extensibility ตัวระบบมีความยืดหยุ่น ง่ายต่อการเพิ่มขยาย เพื่อรองรับความต้องการในอนาคตของผู้ใช้งานได้
  • Portability สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานในแพลตฟอร์มของโปรเซสเซอร์อื่นได้
  • Multiprocessing and Scalability แอปพลิเคชั่นที่ทำงานภายใต้ Windows Server 2003 ต้องสามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหลายโปรเซสเซอร์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • Reliability and Robustness ระบบปฏิบัติการมีเสถียรภาพสูง สามารถป้องกันข้อผิดพลาดอันเกิดจากกระบวนการภายในและจากแอปพลิเคชั่นภายนอกได้ ระบบจะต้องอยู่ในสถานะที่สามารถควบคุมได้ ตลอดเวลา หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นระบบต้องสามารถรายงานได้อย่างถูกต้อง และความผิดพลาดของ แอปพลิเคชั่นจะต้องไม่มีผลต่อการทำงานของระบบปฏิบัติการโดยรวม นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการยังต้องมี อำนาจเต็มที่ในการควบคุมแอปพลิเคชั่น อันได้แก่ การสั่งหยุดแอปพลิเคชั่นที่ทำให้เกิดปัญหาต่อระบบ และสามารถเรียกคืนทรัพยากรระบบทั้งหมด เช่น หน่วยความจำให้กลับมาคืนสู่ระบบได้
  • Security มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี ระบบต้องสามารถตรวจสอบผู้ใช้ก่อนเข้าใช้งานระบบได้ รวมทั้ง
  • ติดตามการใช้งานของผู้ใช้ได้ และสามารถกำหนดสิทธิต่างๆ ในการใช้งานทรัพยากรของระบบได้
  • Performance ตัวระบบต้องทำงานได้ในความเร็วสูงสุดเท่าที่ทำได้ในแพลตฟอร์มทางฮาร์ดแวร์ที่มีอยู่
หากผู้ใช้งานเคยใช้ระบบปฏิบัติการก่อนหน้านี้แล้ว คือ Windows Server 2000 ผู้ใช้จะเกิดความเคยชินในการใช้งาน ระบบปฏิบัติการ Windows Server 2003 นี้ เพราะ Windows Server 2003 เป็นเวอร์ชั่นที่ได้รับการพัฒนาต่อจาก Windows Server 2000 นั่นเอง แต่ Windows Server 2003 ได้ทำการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับระบบปฏิบัติการตัวก่อน หน้านี้ ซึ่ง Windows Server 2003 เป็นระบบปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพสูงและมีความปลอดภัยในด้านการรักษาความ ปลอดภัยสูงเช่นกัน ระบบปฏิบัติการ Windows Server 2003 มีชุดของ Server หลายแบบด้วยกัน ขณะที่ชุดของ Server ทั้งหมดยังรองรับและสนับสนุนเครื่องลูกข่ายที่เป็น Windows 2000 Professional และ Windows XP Professional ด้วยเช่นกัน ซึ่งชุด ของ Windows Server 2003 มีดังต่อไปนี้
  • Windows Server 2003, Standard Edition



















  • Windows Server 2003, Enterprise Edition




















  • Windows Server 2003, Datacenter Edition
















  • Windows Server 2003, Web Edition


















ความต้องการขั้นต่ำของระบบ

  • Product Windows Server 2003, Standard Edition
  • Processor Pentium 133MH, 550+ MHz (แนะนำ) รองรับ CPU 4 ตัว
  • RAM 128 MB, 256MB (แนะนำ)
  • Drive space 1GB, 2GB (แนะนำ)
  • Drives Hard disk IDB, SCSI
  • Video VGA หรือ Super VGA
  • File systems FAT หรือ NTFS

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย


ระบบปฏิบัติการเครือข่าย Network Operating System (NOS) เป็น โปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย สำหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกันได้ครับ อย่างเช่น ใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน เป็นต้น

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย มี คุณสมบัติในการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและ การใช้งานอุปกรณ์ร่วมกันนะครับ รวมทั้งยังมีระบบการป้องกันการสูญหายของข้อมูล ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้ปัจจุบัน จะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server) โดยส่วนประกอบสำหรับการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลและการจัดการโปรแกรมจะทำงานอยู่บน เครื่องเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะอยู่บนเครื่องไคลเอนต์ เช่น การติดต่อกับผู้ใช้ การประมวลผล เป็นต้น การจัดการให้ผู้ใช้เห็นว่างานและอุปกรณ์ทั้งหลายที่ใช้นั้นเสมือนอยู่บน เครื่องไคลเอนต์เอง ถือว่าเป็นหน้าที่หลักอันหนึ่งของระบบปฏิบัติการเครือข่าย

1. Netware เป็นระบบปฏิบัติการที่มีผู้นิยมใช้งานในระบบเครือข่ายมากสำหรับเครื่องไมโคร คอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ พัฒนาโดยบริษัท Novell จัดเป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ทำงานภายใต้ MS-DOS ระบบปฏิบัติการเครือข่าย Netware ในขณะนี้ สรุปได้ดังนี้
- 1. Personal Netware (Netware Lite)
เป็นระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เชื่อมต่อในลักษณะ Peer-to-Peer โดยคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายนั้น จะติดต่อกันในกลุ่มเครือข่าย โดยไม่มีเครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นเครื่องเซอร์เวอร์โดยเฉพาะ ไม่เหมาะกับระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เพราะมีการจัดการเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยค่อนข้างน้อย
- 2. Netware 3.1x
เป็นระบบเครือข่ายแบบไคลเอ็นต์เซอร์เวอร์ มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งหรือมากกว่าที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางใน การบริการข้อมูล โดยเฉพาะ Netware 3.12 นั้นยังเป็นที่นิยมใช้กันมากจนถึงปัจจุบัน สามารถต่อเครือข่ายได้สูงสุด 250 ยูสเซอร์ ต่อ 1 เซอร์เวอร์ ปัจจุบันพัฒนา Netware 3.2 แล้ว
- 3. Netwware 4.xx
เป็นเวอร์ชันที่มีลักษณะคล้ายกับ Netware 3.12 แต่มีรายละเอียด ซับซ้อนมากกว่าในเรื่องของการจัดการและการออกแบบโครงสร้าง NDS ในเวอร์ชันนี้สามารถต่อเครือข่ายได้สูงสุด 1000 ยูสเซอร์ และสามารถรองรับซีพียูในการประมวลผลได้มากกว่าหนึ่งตัว
- 4. Netware 5
เป็นเวอร์ชันที่ใช้สำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่ เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สนับสนุนโปรโตคอลหลายชนิดด้วยกัน เช่น TCP/IP รวมทั้งการติดตั้งระบบเครือข่ายอินทราเน็ต และความสามารถในการจัดการระบบต่าง ๆ เช่น Web-based Management , File System, Javaเป็นต้น



2. Window NT, Windows 2000 Server เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท ไมโครซอฟต์ จำกัด ประมาณปลายปี 1995 สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เริ่มต้นไมโครซอฟต์ต้องการพัฒนาเป็นแอปปลิเคชั่น เซอร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบันสามารถประยุกต์ได้เป็น
ดาต้าเบสเซอรฟ์เวอร์ และอินเทอร์เน็ตเซอร์ฟเวอร์



3. Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่กำเนิดมาบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe) ที่รองรับผู้ใช้จำนวนมากสำหรับระบบเครือข่าย
ในหน่วยงานใหญ่ๆ เป็นโปรแกรมจัดการระบบงาน (Operating system) ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง ได้รับการออกแบบโดยห้องปฏิบัติ
การ เบลล์ของบริษัท AT&T ในปี คศ. 1969 ถึงแม้ว่าระบบ Unix จะคิดค้นมานานแล้ว แต่ยังเป็นที่นิยมใช้กันมากมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะ
ระบบ พื้นฐานของอินเตอร์เนต เนื่องจากมีความคล่อง ตัวสูง ตลอดจนสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หลายชนิด นอกจากนั้น Unix ยังเป็นระบบ ใช้ในลักษณะผู้ใช้ร่วมกันหลายคน (Mutiuser) และงานหลายงานในขณะเดียวกัน (Mutitasking) ผู้ใช้สามารถดัดแปลง หรือเพิ่มคำสั่งใน Unix ด้วยตนเองเพื่อความสะดวกได้



4. Linux เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับระบบเครือข่าย ที่อยู่ในกลุ่มของ FreeWare ที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพสูง Linux พัฒนาขึ้นโดย
นาย ไลนัส ทอร์วัลด์ (Linus Torvalds) ขณะที่ยังเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเฮซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เขาได้ส่งซอร์สโค้ด(Source Code) ให้นักพัฒนาทั่วโลกร่วมกันพัฒนา โดยข้อดีของ Linux สามารถทำงานได้พร้อมกัน (Multitasking) และใช้งานได้พร้อม กันหลายคน(MultiUser) ทำให้เป็นที่นิยมแพร่หลาย บางคนกล่าวว่า "Linux ก็คือน้องของ Unix" แต่จริงๆ แล้วลีนุกซ์มีข้อดีกว่ายูนิกซ์(Unix) คือสามารถทำงาน ได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ที่ใช้งานอยู่ทั่วๆ ไป เพราะว่า Linux เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ทรัพยากรน้อย และมีเสถียรภาพในการดูแลระบบได้ดี



5. NetBUEI พัฒนาโดย IBM ในปี ค . ศ .1985 เป็นโปรโตคอลที่มีขนาดเล็กกะทัดรัดทำงานได้รวดเร็ว เหมาะสมกับระบบเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก ไม่เหมาะกับเครือข่ายขนาดใหญ่เนื่องจากไม่สามารถค้นหาเส้นทางได้